วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ศึกษาดูงาน NOK

NOK เป็นบริษัทที่ได้รับรางวัลจาก หน่วยงานของรัฐและเอกชน รางวัลด้านสิ่งแวดล้อมและอื่นๆอีกมากมาย เป็นbest practiceที่น่าสนใจ NOK เพิ่งก่อตั้งเมื่อ 27 มีนาคม 2544 ได้รับความสำเร็จมากโดยใช้การจัดการบริหารแบบ ไคเซ็นและ 5ส มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าทึ่ง NOK เป็นโรงงานทีผลิตส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ตั้งอยู่ที่บางประอิน จ.อยุธยา เป็นการทำKM ที่ได้ประสิทธิภาพและมีหน่วยงานจำนวนมากที่เลือกมาดูงานที่นี่และก็ได้เห็นสิ่งที่น่าสนใจมากมาย

การเยี่ยมชมสถานที่ โดยรอบจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่พนักงานทุกรูปแบบ ตามทางเดิน ห้องอาหาร แม้กระทั่งในห้องน้ำ ก็จะมีสาระน่ารู้ติดทั้งประตูด้านในห้องน้ำและทั่วบริเวณภายในห้องน้ำ
บรรยากาศภายนอก1. เนื่องจากเมื่อเดินเข้ามาจะเห็นว่ามีป้าย โชว์ชั่วโมงการปฏิบัติงาน 1,000,000 ชั่วโมงการทำงานติดต่อกันโดยไม่เกิดอุบัติเหตุ เป็นการเน้นความปลอดภัย ได้รับรางวัล “ Zero Accident Campaign”
2. จะเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการใช้พลังงานเนื่องจากความร้อนภายนอก โดยการปลูกต้นไม้เป็นแถวปิดตัวอาคารหรือเรียกม่านต้นไม้และใช้กระจกกรองแสง เพื่อลดความร้อน
3. มีการระบายความร้อนจากแอร์ภายในอาคารออกสู่ด้านบนของตัวอาคาร(ถังสีฟ้า)เพื่อลดอุณหภูมิและถ่ายเทอากาศได้ดีลดพลังงาน
4. คนสวนได้ทำปุ๋ยจุลินทรีย์เองหรือน้ำBMจากขยะสดแล้วปล่อยน้ำBM ไปตามท่อส่งน้ำของโรงงานก่อนสู่บ่อบำบัดอีกที
5. ต้นไม้ก็มีรหัสบอกเป็นตัวเลขซึ่งจะสามารถบอกได้ว่าเป็นความรับผิดชอบของใคร บรรยากาศรอบโรงงานมีต้นไม้เยอะ ร่มรื่น เย็นสบาย
6. ทางเข้าออกของอาคาร จะมีที่พักอากาศ เพื่อกั้นความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในเป็นประตูกัก 2 ชั้น เพื่อประหยัดพลังงานบรรยากาศภายใน ภายในตัวอาคารแทบจะไม่เห็นการใช้กระดาษในการติดข่าวประชาสัมพันธ์ เนื่องจากมีนโยบายลดการใช้กระดาษในการทำข่าวสารเพื่อลดพลังงาน เปลี่ยนมาใช้บอร์ดอัจฉริยะ ที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด มีทั้งระบบสัมผัสและ Online สิ่งที่เห็นจากบรรยากาศภายใน

1. เมื่อเดินทางมาไกลมาถึงก็จะแวะเข้าห้องน้ำก่อนสิ่งแรกที่พบก็คือ ความสะอาดไร้กลิ่น ต่อมาภายในมีข่าวสารความรู้ติอยู่รอบผนังห้องน้ำและในห้องน้ำเมื่อทำธุระส่วนตัว ก็จะเห็นมีสาระน่ารู้ติดอยู่ที่ประตูด้านในห้องน้ำ พอมาล้างมือก็จะเห็นความรู้เหนืออ่างล้างมืออีก เป็นการให้ความรู้...ทุกที่ทุกเวลา...จริง
2. หน้าห้องประชุมที่ใช้รับรองผู้มาเยี่ยม จะมีจอคอมพิวเตอร์ lCD ติดอยู่ที่หน้าประตู (แทนป้ายกระดาษต้อนรับ) ซึ่งจะแสดงว่าใครมาใช้งาน เวลาไหน ใช้งานด้านไหน ดูข้อมูลได้จากจอนี้ ซึ่งการใช้ต้องจองผ่านระบบ Online ล่วงหน้า เมื่อประชุมเสร็จแล้ว ก็จะเตรียมห้องพร้อมใช้งาน และติดป้าย “ Clear”
3. ภายในทางเดินจะมีป้ายบอกเป็นระเบียบ มีป้ายวิสัยทัศน์แสดงชัดเจนตัวใหญ่มาก ให้เห็นทั้งคนภายนอกและคนภายในเพื่อเตือนความทรงจำ เป็นการประกาศวิสัยทัศน์ที่ชัดแจ้ง ไม่ได้ติดที่ใดที่หนึ่ง แต่ติดทั่วบริเวณ ที่ห้องอาหารจะมีเครื่องคล้ายตู้ ATM ให้พนักงานไว้ใช้รูดบัตร ซึ่งจะแสดงรายการข้อมูลส่วนตัวทั้งหมด ทั้งค่าอาหาร การลา ประวัติการทำงาน และสิทธิ์ต่างๆของพนักงาน
4. การจัดการในโรงอาหารน่าสนใจ ด้านข้างจะเป็นที่อ่านหนังสือพิมพ์เรียงเป็นระเบียบ โต๊ะที่นั่งรับประทานอาหาร จะเห็นว่าที่ขอบโต๊ะทุกโต๊ะด้านใดด้านหนึ่งจะมีถาดใส่ผ้าเช็ดโต๊ะอยู่ ซึ่งจะเปลี่ยนทุก 10 นาที เพื่อให้พนักงาน เมื่อทานเสร็จแล้วก็เช็ดโต๊ะด้วย เพื่อตนอื่นจะได้สะดวกมาใช้ต่อได้เลย แล้วก็เก็บจานเองนำไปวางที่จัดไว้ จะดูสะอาดและเป็นระเบียบ ในห้องอาหารจะมีห้องคาราโอเกะด้วยไว้ให้พนักงานผ่อนคลาย
5. การเยี่ยมชมภายในอาคาร มีการควบคุมฝุ่นและจะเน้นเรื่องความสะอาด เทียบเท่ากับห้องผ่าตัดเลยทีเดียว จะเห็นว่าผู้เยี่ยมชมจะต้องใส่ถุงคลุมรองเท้าและผ้าปิดปาก หมวกคลุมผมด้วย พร้อมแล้วก็เยี่ยมชมการทำงานได้เลย ซึ่งส่วนใหญ่ใช้หุ่นยนต์ทำงานแทน พนักงานก็ควบคุมการทำงานอีกที พนักงานใส่ชุดป้องกันเป็นพิเศษและต้องเดินเข้าช่องเป่าฝุ่นที่มีทางเดินเลี้ยวไปมาประมาณ 30 วินาที แล้วจึงจะเข้าสู่บริเวณได้ บริเวณด้านหน้าประตูทุกห้องจะมีแผ่นกาวเพื่อดักฝุ่นจากรองเท้าด้วยเหมือนกัน พนักงานทุกคนต้องไม่แต่งหน้าทาแป้งทำงาน เป็นระเบียบเพราะว่าฝุ่นจากแป้งเหล่านี้จะมีผลต่อชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์เล็กๆเหล่านี้ให้เกิดเสียหายได้
6. ด้านห้องปฏิบัติการได้ใช้ 5 ส อย่างลงตัว และมีวิธีใช้พร้อมกับติดรูปผู้รับผิดชอบ(หลายที่ก็คงทำอยู่) แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ มีรูปถ่ายสภาพเดิมก่อนใช้งานติดอยู่ด้วย ซึ่งหลังเสร็จงานหรือตอนเย็นก็จะต้อง
จัดของให้อยู่ในสภาพเดิมตามภาพให้เรียบร้อยก่อนเลิกงาน จะสังเกตเห็นว่าถังน้ำยาดับเพลิง มีทุกห้องและวางให้เห็นเด่นชัด พร้อมใช้งานและกำหนดผู้นำถือธงมีธงหลายสีแบ่งกลุ่ม เวลาเกิดเหตุเพลิงไหม้ ต้องปฏิบัติตามผู้นำสีใครสีมัน เพื่อจะได้เป็นระเบียบไม่โกลาหล
7. ในส่วนของสำนักงานที่เป็นฝ่ายเอกสาร จะเห็นได้ว่า ทั้งสำนักงานมีตู้เก็บเอกสาร เพียง 2 ใบเท่านั้น กระดาษแฟ้มบนโต๊ะไม่มี ทุกอย่างใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในระบบ Online ทั้งหมดทั้งใบสมัคร ใบลา เอกสารต่างๆทุกอย่าง ดังนั้นพนักงานทุกคนจะได้รับการฝึกใช้คอมพิวเตอร์และใช้งานได้ทุกคน และมีคอมพิวเตอร์ใช้ทุกคน ถ้าระดับหัวหน้างานจะมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กให้ใช้ทุกคน
8. เครื่องใช้ในสำนักงานวางเป็นระเบียบมีของส่วนกลาง 1 ชุด ใช้ด้วยกัน(เพื่อลดรายจ่ายที่ต่างคนต่างมี) ถ้าใครนำไปใช้จะต้องวางรูปตรงจุดที่นำอุปกรณ์ชิ้นนั้นไป ในส่วนของแฟ้มก็ทำเช่นเดียวกัน จะสมามารถรู้ได้ทันทีว่าใครหำลังนำไปใช้อยู่
9. ห้องพัสดุ เป็นระเบียบมากและของก็ไม่เยอะจนเกินความจำเป็น วางจัดเหมือนห้างสรรพสินค้า วัสดุทุกชิ้นจะมี Barcode ติดอยู่ใน ใช้ระบบ first in and first out เบิกและตัดจ่ายโดยใช้ระบบ Online จะสมารถรู้ทันทีว่าของอันไหนเหลือเท่าไหร่ จะเพิ่มหรือสั่งชื้อได้ทันทีไม่ต้องสต๊อกไว้มากและเป็นระเบียบจริงๆ
10. ห้องควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ ก็มีขนาดไม่ใหญ่แต่มีประสิทธิภาพสูงมาก จะสามารถเช็คทุกอย่างพร้อมทั้งมีการวางแผนการใช้งานอย่างดี มีระบบกันคอมพิวเตอร์เครือข่ายล่ม มีตัวสำรอง 1,2 ทำงานต่อได้ทันที เนื่องจากที่นี่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเกือบทั้งหมด มีกล้องวงจรปิดติดทั้งโรงงานทุกบริเวณ ยกเว้นห้องน้ำ จากจอของคอมพิวเตอร์ ระดับหัวหน้าจะสามารถเช็คดูการทำงานในขณะปัจจุบันจากหน้าจอได้ทุกจุด ว่าทำงานกันอย่างไร มีปัญหาอะไรก็สามารถเห็นภาพได้ทันทีโดยไม่ต้องเข้าไปที่เกิดเห็น ทันสมัยมากๆ
11. ในส่วนสวัสดิการของพนักงานก็เน้นความสุข 8 ประการในองค์กร คือ1. Happy body - สุขภาพแข็งแรง เล่นกีฬา โยคะ sport complex2. Happy heart - ความเอื้อเฟื้อเผื่อแพร่ มีน้ำใจต่อกัน3. Happy society - ช่วยเหลือสังคม4. Happy relax - ส่งเสริมการไปเที่ยว ผ่อนคลาย คาราโอเกะ5. Happy brain - Knowledge Asset, Internet , ห้องสมุดให้ค้นคว้า6. Happy soul - ทางสงบ ทำบุญ เน้นจิตใจ7. Happy money - ใช้จ่ายพอเพียง ส่งเสริมให้ออมเงิน ปลอดหนี้8. Happy family - สนับสนุนกิจกรรมครอบครัว
12. โครงสร้าง KM ของ NOK- กลยุทธ์เพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้1. Smart System –เทคโนโลยีสารสนเทศ- สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า- บริหารงานด้วยความโปร่งใส- สร้างความสมดุลระหว่างคนกับระบบ2. Small Group Activity – กิจกรรมกลุ่มย่อย- ทำงานเป็นทีม- ปรับปรุงอยางต่อเนื่อง- ใช้หลัก Win-Win ในทุกหน่วยงาน - องค์กรแห่งการเรียนรู้ , การจัดการความรู้ , การเรียนรู้ด้วยตนเอง- มีความเป็นมืออาชีพในงาน- ดำรงการเติบโตของธุรกิจ - NOK KM Model -มุ่งเน้นที่คน
- Source of Knowledge – Research, Library, Internet, Intranet, Experiment, Training, Self-access, E-System, Language, Basic Science, Expert& Consultant etc.
- Small Group Activity คือ กิจกรรมกลุ่มย่อยที่พนักงานทุกคน ทุกตำแหน่งมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างเช่น กิจกรรม, 5ส, ความปลอดภัย, TPM เป็นต้น โดยเริ่มจากการแบ่งกลุ่มพื้นที่การปฏิบัติงาน ประมาณ 8-10 คน โดยแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วย หัวหน้าทีม ลูกทีมและที่ปรึกษาที่มาจากพี่ๆ ระดับ วิศวกร พนักงานประจำ พนักงานอาวุโส และผู้บริหารจากทุกแผนก
โดยปัจจุบันมีSGA จำนวน 65 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ทั้งองค์กร ในการดำเนินกิจกรรมสมาชิกในกลุ่มจะมีการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้กัน ประมาณ 10-30 นาที ในแต่ละวัน ทำการสำรวจสิ่งผิดปกติและส่วนที่ต้องปรับปรุงของทุกกิจกรรม เดือนละ 1 ครั้ง การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานาในพื้นที่ของตน ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องงาน โดยการสร้างบทเรียน One point Lesson และ Kaizen Suggestion System ทุกกลุ่มสามารถที่จะค้นคว้าพัฒนาตนเองได้ โดยหาข้อมูลต่างๆ จากห้องสมุด เวบไซต์ข้อมูลภายในบริษัท ดูงานเพื่อนกลุ่มอื่นๆ และการสอนจากที่ปรึกษาและหน่วยงานฝึกอบรม เป็นต้น
- Knowledge Asset - แหล่งเรียนรู้ขององค์กรมี 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ ระบบ Intranet และต่อมาพัฒนาต่อยอดเป็นระบบ Portal ขึ้นใช้เองในองค์กร เป็นที่รวบรวมข้อมูลของทุกฝ่าย ทุกกิจกรรม ตลอดจน การลากิจ ลาป่วย เวลาทำงาน การเบิกของ รายงาน รายงานการประชุมและกิจกรรมขององค์กรซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จะถูกจัดระบบไว้ในนี้ทุกๆสายงานจะบรรจุข้อมูลงานของทุกคนลงใน Portal รวมทั้งรายงานหน้าเดียว โดยผลการดำเนินงานของทุกฝ่ายจะถูกใส่ในฐานข้อมูล นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณกระดาษและแฟ้มเอกสารได้อย่างมาก โดยสามารถเปิดดูข้อมูลที่ถูกปรับปรุง ที่เป็นปัจจุบันที่สุด ได้ในระบบ Portal
13. ความเป็นทีมของพนักงานNOK จะเห็นได้ว่ามี่ความพร้อมมากในการทำงาน คุณสราวุฒิ CKO ของNOK กล่าวว่าโรงงานเราไม่ต้องการ Super Star ที่เก่งคนเดียว แต่ทางเราต้องการ Teamwork ซึ่งเป็นกลไกที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ
ความประทับใจและสิ่งที่ได้จากการดูงานครั้งนี้คือ
1. พบว่าจุดแข็งของ NOK คือการจัดการบริหาร ด้านวิสัยทัศน์ชัดเจนและสามารถกระตุ้นการทำงานของพนักงานในทุกรูปแบบ ทั้งความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ด้านของภาษาโดยสอนภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นให้พนักงาน ด้านทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน การคิดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ โดยแต่ละกลุ่มจะมีการคิดหาวิธีการลดพลังงานหรือสร้างนวัตกรรมอะไรใหม่ๆเพื่อนำเสนอ โดยมีของรางวัลเป็นแรงจูงใจ ที่น่าชื่นชมคือ การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพมาก พนักงานทุกคนสมารถที่จะให้ข้อมูลข่าวสารและนำเสนอได้ทุกคน และพร้อมบริการและสามารถใช้ KM ได้อย่างผสมผสานและลงตัว
2.จุดอ่อนของ NOK คิดว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานที่จะพบปะพูดคุยกันมีน้อย เนื่องจากใช้แต่คอมพิวเตอร์ติดต่อทุกเรื่องแม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ จนลืมไปว่า เราไม่ใช่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ควรจะต้องมี Free time บ้าง การใช้ระบบไคเซ็นเป็นการลดการสูญเสีย เน้นเพิ่มผลผลิต เป็นการได้ประโยชน์ของโรงงาน แต่อาจจะลืมดูคนทำงานที่เคร่งเครียดอยู่หน้างานตลอดเวลา ทุกคนต้อง Active ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีจุดยืนเช่นกัน จะให้คนเก่าแก่ที่ทำประโยชน์ให้มามากและทำงานมานานไปอยู่ที่ไหน เมื่อองค์กรต้องการแต่วัยหนุ่มสาวทำงาน เพื่อให้ทันต่อการผลิตชิ้นงาน
3. สิ่งที่ประทับใจ ก็คือ พนักงานทุกคนน่ารักมากๆ พร้อมบริการและให้คำอธิบาย การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ทำให้เห็นการจัดระบบการจัดการและสารสนเทศได้อย่างดีและมีคุณภาพ น่าทึ่ง เหมือนคุณสราวุฒิบอกก่อนกลับว่า อย่าลืมแวะมาเยี่ยมพวกเราอีกนะครับ ถึงไม่อยู่ในเมือง...อยู่บ้านนอก..แต่หัวใจ..Center point…นะครับ.

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Hello. This post is likeable, and your blog is very interesting, congratulations :-). I will add in my blogroll =). If possible gives a last there on my blog, it is about the TV de Plasma, I hope you enjoy. The address is http://tv-de-plasma.blogspot.com. A hug.