วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ศึกษาดูงาน NOK

NOK เป็นบริษัทที่ได้รับรางวัลจาก หน่วยงานของรัฐและเอกชน รางวัลด้านสิ่งแวดล้อมและอื่นๆอีกมากมาย เป็นbest practiceที่น่าสนใจ NOK เพิ่งก่อตั้งเมื่อ 27 มีนาคม 2544 ได้รับความสำเร็จมากโดยใช้การจัดการบริหารแบบ ไคเซ็นและ 5ส มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าทึ่ง NOK เป็นโรงงานทีผลิตส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ตั้งอยู่ที่บางประอิน จ.อยุธยา เป็นการทำKM ที่ได้ประสิทธิภาพและมีหน่วยงานจำนวนมากที่เลือกมาดูงานที่นี่และก็ได้เห็นสิ่งที่น่าสนใจมากมาย

การเยี่ยมชมสถานที่ โดยรอบจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่พนักงานทุกรูปแบบ ตามทางเดิน ห้องอาหาร แม้กระทั่งในห้องน้ำ ก็จะมีสาระน่ารู้ติดทั้งประตูด้านในห้องน้ำและทั่วบริเวณภายในห้องน้ำ
บรรยากาศภายนอก1. เนื่องจากเมื่อเดินเข้ามาจะเห็นว่ามีป้าย โชว์ชั่วโมงการปฏิบัติงาน 1,000,000 ชั่วโมงการทำงานติดต่อกันโดยไม่เกิดอุบัติเหตุ เป็นการเน้นความปลอดภัย ได้รับรางวัล “ Zero Accident Campaign”
2. จะเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการใช้พลังงานเนื่องจากความร้อนภายนอก โดยการปลูกต้นไม้เป็นแถวปิดตัวอาคารหรือเรียกม่านต้นไม้และใช้กระจกกรองแสง เพื่อลดความร้อน
3. มีการระบายความร้อนจากแอร์ภายในอาคารออกสู่ด้านบนของตัวอาคาร(ถังสีฟ้า)เพื่อลดอุณหภูมิและถ่ายเทอากาศได้ดีลดพลังงาน
4. คนสวนได้ทำปุ๋ยจุลินทรีย์เองหรือน้ำBMจากขยะสดแล้วปล่อยน้ำBM ไปตามท่อส่งน้ำของโรงงานก่อนสู่บ่อบำบัดอีกที
5. ต้นไม้ก็มีรหัสบอกเป็นตัวเลขซึ่งจะสามารถบอกได้ว่าเป็นความรับผิดชอบของใคร บรรยากาศรอบโรงงานมีต้นไม้เยอะ ร่มรื่น เย็นสบาย
6. ทางเข้าออกของอาคาร จะมีที่พักอากาศ เพื่อกั้นความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในเป็นประตูกัก 2 ชั้น เพื่อประหยัดพลังงานบรรยากาศภายใน ภายในตัวอาคารแทบจะไม่เห็นการใช้กระดาษในการติดข่าวประชาสัมพันธ์ เนื่องจากมีนโยบายลดการใช้กระดาษในการทำข่าวสารเพื่อลดพลังงาน เปลี่ยนมาใช้บอร์ดอัจฉริยะ ที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด มีทั้งระบบสัมผัสและ Online สิ่งที่เห็นจากบรรยากาศภายใน

1. เมื่อเดินทางมาไกลมาถึงก็จะแวะเข้าห้องน้ำก่อนสิ่งแรกที่พบก็คือ ความสะอาดไร้กลิ่น ต่อมาภายในมีข่าวสารความรู้ติอยู่รอบผนังห้องน้ำและในห้องน้ำเมื่อทำธุระส่วนตัว ก็จะเห็นมีสาระน่ารู้ติดอยู่ที่ประตูด้านในห้องน้ำ พอมาล้างมือก็จะเห็นความรู้เหนืออ่างล้างมืออีก เป็นการให้ความรู้...ทุกที่ทุกเวลา...จริง
2. หน้าห้องประชุมที่ใช้รับรองผู้มาเยี่ยม จะมีจอคอมพิวเตอร์ lCD ติดอยู่ที่หน้าประตู (แทนป้ายกระดาษต้อนรับ) ซึ่งจะแสดงว่าใครมาใช้งาน เวลาไหน ใช้งานด้านไหน ดูข้อมูลได้จากจอนี้ ซึ่งการใช้ต้องจองผ่านระบบ Online ล่วงหน้า เมื่อประชุมเสร็จแล้ว ก็จะเตรียมห้องพร้อมใช้งาน และติดป้าย “ Clear”
3. ภายในทางเดินจะมีป้ายบอกเป็นระเบียบ มีป้ายวิสัยทัศน์แสดงชัดเจนตัวใหญ่มาก ให้เห็นทั้งคนภายนอกและคนภายในเพื่อเตือนความทรงจำ เป็นการประกาศวิสัยทัศน์ที่ชัดแจ้ง ไม่ได้ติดที่ใดที่หนึ่ง แต่ติดทั่วบริเวณ ที่ห้องอาหารจะมีเครื่องคล้ายตู้ ATM ให้พนักงานไว้ใช้รูดบัตร ซึ่งจะแสดงรายการข้อมูลส่วนตัวทั้งหมด ทั้งค่าอาหาร การลา ประวัติการทำงาน และสิทธิ์ต่างๆของพนักงาน
4. การจัดการในโรงอาหารน่าสนใจ ด้านข้างจะเป็นที่อ่านหนังสือพิมพ์เรียงเป็นระเบียบ โต๊ะที่นั่งรับประทานอาหาร จะเห็นว่าที่ขอบโต๊ะทุกโต๊ะด้านใดด้านหนึ่งจะมีถาดใส่ผ้าเช็ดโต๊ะอยู่ ซึ่งจะเปลี่ยนทุก 10 นาที เพื่อให้พนักงาน เมื่อทานเสร็จแล้วก็เช็ดโต๊ะด้วย เพื่อตนอื่นจะได้สะดวกมาใช้ต่อได้เลย แล้วก็เก็บจานเองนำไปวางที่จัดไว้ จะดูสะอาดและเป็นระเบียบ ในห้องอาหารจะมีห้องคาราโอเกะด้วยไว้ให้พนักงานผ่อนคลาย
5. การเยี่ยมชมภายในอาคาร มีการควบคุมฝุ่นและจะเน้นเรื่องความสะอาด เทียบเท่ากับห้องผ่าตัดเลยทีเดียว จะเห็นว่าผู้เยี่ยมชมจะต้องใส่ถุงคลุมรองเท้าและผ้าปิดปาก หมวกคลุมผมด้วย พร้อมแล้วก็เยี่ยมชมการทำงานได้เลย ซึ่งส่วนใหญ่ใช้หุ่นยนต์ทำงานแทน พนักงานก็ควบคุมการทำงานอีกที พนักงานใส่ชุดป้องกันเป็นพิเศษและต้องเดินเข้าช่องเป่าฝุ่นที่มีทางเดินเลี้ยวไปมาประมาณ 30 วินาที แล้วจึงจะเข้าสู่บริเวณได้ บริเวณด้านหน้าประตูทุกห้องจะมีแผ่นกาวเพื่อดักฝุ่นจากรองเท้าด้วยเหมือนกัน พนักงานทุกคนต้องไม่แต่งหน้าทาแป้งทำงาน เป็นระเบียบเพราะว่าฝุ่นจากแป้งเหล่านี้จะมีผลต่อชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์เล็กๆเหล่านี้ให้เกิดเสียหายได้
6. ด้านห้องปฏิบัติการได้ใช้ 5 ส อย่างลงตัว และมีวิธีใช้พร้อมกับติดรูปผู้รับผิดชอบ(หลายที่ก็คงทำอยู่) แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ มีรูปถ่ายสภาพเดิมก่อนใช้งานติดอยู่ด้วย ซึ่งหลังเสร็จงานหรือตอนเย็นก็จะต้อง
จัดของให้อยู่ในสภาพเดิมตามภาพให้เรียบร้อยก่อนเลิกงาน จะสังเกตเห็นว่าถังน้ำยาดับเพลิง มีทุกห้องและวางให้เห็นเด่นชัด พร้อมใช้งานและกำหนดผู้นำถือธงมีธงหลายสีแบ่งกลุ่ม เวลาเกิดเหตุเพลิงไหม้ ต้องปฏิบัติตามผู้นำสีใครสีมัน เพื่อจะได้เป็นระเบียบไม่โกลาหล
7. ในส่วนของสำนักงานที่เป็นฝ่ายเอกสาร จะเห็นได้ว่า ทั้งสำนักงานมีตู้เก็บเอกสาร เพียง 2 ใบเท่านั้น กระดาษแฟ้มบนโต๊ะไม่มี ทุกอย่างใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในระบบ Online ทั้งหมดทั้งใบสมัคร ใบลา เอกสารต่างๆทุกอย่าง ดังนั้นพนักงานทุกคนจะได้รับการฝึกใช้คอมพิวเตอร์และใช้งานได้ทุกคน และมีคอมพิวเตอร์ใช้ทุกคน ถ้าระดับหัวหน้างานจะมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กให้ใช้ทุกคน
8. เครื่องใช้ในสำนักงานวางเป็นระเบียบมีของส่วนกลาง 1 ชุด ใช้ด้วยกัน(เพื่อลดรายจ่ายที่ต่างคนต่างมี) ถ้าใครนำไปใช้จะต้องวางรูปตรงจุดที่นำอุปกรณ์ชิ้นนั้นไป ในส่วนของแฟ้มก็ทำเช่นเดียวกัน จะสมามารถรู้ได้ทันทีว่าใครหำลังนำไปใช้อยู่
9. ห้องพัสดุ เป็นระเบียบมากและของก็ไม่เยอะจนเกินความจำเป็น วางจัดเหมือนห้างสรรพสินค้า วัสดุทุกชิ้นจะมี Barcode ติดอยู่ใน ใช้ระบบ first in and first out เบิกและตัดจ่ายโดยใช้ระบบ Online จะสมารถรู้ทันทีว่าของอันไหนเหลือเท่าไหร่ จะเพิ่มหรือสั่งชื้อได้ทันทีไม่ต้องสต๊อกไว้มากและเป็นระเบียบจริงๆ
10. ห้องควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ ก็มีขนาดไม่ใหญ่แต่มีประสิทธิภาพสูงมาก จะสามารถเช็คทุกอย่างพร้อมทั้งมีการวางแผนการใช้งานอย่างดี มีระบบกันคอมพิวเตอร์เครือข่ายล่ม มีตัวสำรอง 1,2 ทำงานต่อได้ทันที เนื่องจากที่นี่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเกือบทั้งหมด มีกล้องวงจรปิดติดทั้งโรงงานทุกบริเวณ ยกเว้นห้องน้ำ จากจอของคอมพิวเตอร์ ระดับหัวหน้าจะสามารถเช็คดูการทำงานในขณะปัจจุบันจากหน้าจอได้ทุกจุด ว่าทำงานกันอย่างไร มีปัญหาอะไรก็สามารถเห็นภาพได้ทันทีโดยไม่ต้องเข้าไปที่เกิดเห็น ทันสมัยมากๆ
11. ในส่วนสวัสดิการของพนักงานก็เน้นความสุข 8 ประการในองค์กร คือ1. Happy body - สุขภาพแข็งแรง เล่นกีฬา โยคะ sport complex2. Happy heart - ความเอื้อเฟื้อเผื่อแพร่ มีน้ำใจต่อกัน3. Happy society - ช่วยเหลือสังคม4. Happy relax - ส่งเสริมการไปเที่ยว ผ่อนคลาย คาราโอเกะ5. Happy brain - Knowledge Asset, Internet , ห้องสมุดให้ค้นคว้า6. Happy soul - ทางสงบ ทำบุญ เน้นจิตใจ7. Happy money - ใช้จ่ายพอเพียง ส่งเสริมให้ออมเงิน ปลอดหนี้8. Happy family - สนับสนุนกิจกรรมครอบครัว
12. โครงสร้าง KM ของ NOK- กลยุทธ์เพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้1. Smart System –เทคโนโลยีสารสนเทศ- สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า- บริหารงานด้วยความโปร่งใส- สร้างความสมดุลระหว่างคนกับระบบ2. Small Group Activity – กิจกรรมกลุ่มย่อย- ทำงานเป็นทีม- ปรับปรุงอยางต่อเนื่อง- ใช้หลัก Win-Win ในทุกหน่วยงาน - องค์กรแห่งการเรียนรู้ , การจัดการความรู้ , การเรียนรู้ด้วยตนเอง- มีความเป็นมืออาชีพในงาน- ดำรงการเติบโตของธุรกิจ - NOK KM Model -มุ่งเน้นที่คน
- Source of Knowledge – Research, Library, Internet, Intranet, Experiment, Training, Self-access, E-System, Language, Basic Science, Expert& Consultant etc.
- Small Group Activity คือ กิจกรรมกลุ่มย่อยที่พนักงานทุกคน ทุกตำแหน่งมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างเช่น กิจกรรม, 5ส, ความปลอดภัย, TPM เป็นต้น โดยเริ่มจากการแบ่งกลุ่มพื้นที่การปฏิบัติงาน ประมาณ 8-10 คน โดยแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วย หัวหน้าทีม ลูกทีมและที่ปรึกษาที่มาจากพี่ๆ ระดับ วิศวกร พนักงานประจำ พนักงานอาวุโส และผู้บริหารจากทุกแผนก
โดยปัจจุบันมีSGA จำนวน 65 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ทั้งองค์กร ในการดำเนินกิจกรรมสมาชิกในกลุ่มจะมีการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้กัน ประมาณ 10-30 นาที ในแต่ละวัน ทำการสำรวจสิ่งผิดปกติและส่วนที่ต้องปรับปรุงของทุกกิจกรรม เดือนละ 1 ครั้ง การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานาในพื้นที่ของตน ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องงาน โดยการสร้างบทเรียน One point Lesson และ Kaizen Suggestion System ทุกกลุ่มสามารถที่จะค้นคว้าพัฒนาตนเองได้ โดยหาข้อมูลต่างๆ จากห้องสมุด เวบไซต์ข้อมูลภายในบริษัท ดูงานเพื่อนกลุ่มอื่นๆ และการสอนจากที่ปรึกษาและหน่วยงานฝึกอบรม เป็นต้น
- Knowledge Asset - แหล่งเรียนรู้ขององค์กรมี 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ ระบบ Intranet และต่อมาพัฒนาต่อยอดเป็นระบบ Portal ขึ้นใช้เองในองค์กร เป็นที่รวบรวมข้อมูลของทุกฝ่าย ทุกกิจกรรม ตลอดจน การลากิจ ลาป่วย เวลาทำงาน การเบิกของ รายงาน รายงานการประชุมและกิจกรรมขององค์กรซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จะถูกจัดระบบไว้ในนี้ทุกๆสายงานจะบรรจุข้อมูลงานของทุกคนลงใน Portal รวมทั้งรายงานหน้าเดียว โดยผลการดำเนินงานของทุกฝ่ายจะถูกใส่ในฐานข้อมูล นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณกระดาษและแฟ้มเอกสารได้อย่างมาก โดยสามารถเปิดดูข้อมูลที่ถูกปรับปรุง ที่เป็นปัจจุบันที่สุด ได้ในระบบ Portal
13. ความเป็นทีมของพนักงานNOK จะเห็นได้ว่ามี่ความพร้อมมากในการทำงาน คุณสราวุฒิ CKO ของNOK กล่าวว่าโรงงานเราไม่ต้องการ Super Star ที่เก่งคนเดียว แต่ทางเราต้องการ Teamwork ซึ่งเป็นกลไกที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ
ความประทับใจและสิ่งที่ได้จากการดูงานครั้งนี้คือ
1. พบว่าจุดแข็งของ NOK คือการจัดการบริหาร ด้านวิสัยทัศน์ชัดเจนและสามารถกระตุ้นการทำงานของพนักงานในทุกรูปแบบ ทั้งความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ด้านของภาษาโดยสอนภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นให้พนักงาน ด้านทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน การคิดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ โดยแต่ละกลุ่มจะมีการคิดหาวิธีการลดพลังงานหรือสร้างนวัตกรรมอะไรใหม่ๆเพื่อนำเสนอ โดยมีของรางวัลเป็นแรงจูงใจ ที่น่าชื่นชมคือ การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพมาก พนักงานทุกคนสมารถที่จะให้ข้อมูลข่าวสารและนำเสนอได้ทุกคน และพร้อมบริการและสามารถใช้ KM ได้อย่างผสมผสานและลงตัว
2.จุดอ่อนของ NOK คิดว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานที่จะพบปะพูดคุยกันมีน้อย เนื่องจากใช้แต่คอมพิวเตอร์ติดต่อทุกเรื่องแม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ จนลืมไปว่า เราไม่ใช่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ควรจะต้องมี Free time บ้าง การใช้ระบบไคเซ็นเป็นการลดการสูญเสีย เน้นเพิ่มผลผลิต เป็นการได้ประโยชน์ของโรงงาน แต่อาจจะลืมดูคนทำงานที่เคร่งเครียดอยู่หน้างานตลอดเวลา ทุกคนต้อง Active ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีจุดยืนเช่นกัน จะให้คนเก่าแก่ที่ทำประโยชน์ให้มามากและทำงานมานานไปอยู่ที่ไหน เมื่อองค์กรต้องการแต่วัยหนุ่มสาวทำงาน เพื่อให้ทันต่อการผลิตชิ้นงาน
3. สิ่งที่ประทับใจ ก็คือ พนักงานทุกคนน่ารักมากๆ พร้อมบริการและให้คำอธิบาย การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ทำให้เห็นการจัดระบบการจัดการและสารสนเทศได้อย่างดีและมีคุณภาพ น่าทึ่ง เหมือนคุณสราวุฒิบอกก่อนกลับว่า อย่าลืมแวะมาเยี่ยมพวกเราอีกนะครับ ถึงไม่อยู่ในเมือง...อยู่บ้านนอก..แต่หัวใจ..Center point…นะครับ.

KM For Fun...D

กิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เมื่อวันที่ 27 - 28 กันยายน 2550
มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.เพื่อนำเงินรายได้จากการจัดกิจกรรมของโครงการมาจัดตั้ง กองทุน KM Fun…D Learning เพื่อใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษา KMที่ร่วมกันจัดทุกชั้นปี หลักสูตรการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
2.เพื่อเป็นการบูรณาการความรู้โดยใช้เครื่องมือสำหรับการจัดการความรู้หลายรูปแบบสำหรับการดำเนินกิจกรรม
3.เพื่อนำความรู้จากการศึกษาการจัดการความรู้มาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและช่วยในด้านส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
วิธีการดำเนินการ
1.ระดมสมองเพื่อสกัดความรู้ในการค้นหาศักยภาพความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลเพื่อบริหารและจัดการมอบหมายภาระงาน
2.จัดทำโครงการเพื่อกำหนดรายละเอียดการดำเนินงานระยะเวลา งบประมาณ
3.จัดทำโครงร่างการบริหารจัดการ (Organization Chart) เพื่อให้ผู้ร่วมทุกคนไปบริหารจัดการ
4.สรุปผลการดำเนินงานและซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติจริง (BAR) ตามโครงร่าง
5.ดำเนินการในระยะเวลาปฏิบัติจริง
6.ประเมินผลการดำเนินงาน
7.สรุปผลการดำเนินงาน
นำเสนอ
ดร.อมรวรรณ ลิ้มสมมุติ
กิจกรรมภายในงาน
1.รับมือโลกร้อนแล้วย้อนดูสุขภาพ
1.1จากสภาวะโลกร้อน (Green House Effect) มาช่วยกันประหยัดพลังงานลดการใช้ไฟฟ้าด้วยการสร้างความสุขกายสุขใจ ด้วยการแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายของไทย ร่วมมือร่วมใจช่วยกันรณรงค์แต่งกายด้วยสินค้าของไทย- การแสดงสื่อผสมมัลติมีเดีย การจัดการความรู้นำสู่วิวัฒนาการสู่กระบวนการผลิตผ้าฝ้าย ถักทอจนเป็นเครื่องแต่งกาย แบบสบาย ๆ- การแสดงแฟชั่นโชว์ ชุดผ้าฝ้ายในสไตล์ต่าง ๆ- การจัดจำหน่ายเสื้อผ้าฝ้ายราคาถูก
1.2การจัดการความรู้ด้านสุขภาพให้ความรู้ในด้านสุขภาพกายและจิต บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นและให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารสารประกอบของอาหารแต่ละชนิด รวมทั้งจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ
2.กิจกรรมบนเวทีด้านการตอบปัญหาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ที่มีอยู่รอบตัวของพื้นที่ในบริเวณจัดงาน
3.SDU Business Alliance Directory เพื่อทำฐานข้อมูลธุรกิจของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนสวนดุสิต
สรุปรายได้จากการจัดกิจกรรมรายได้ทั้งสิ้น 20,402 บาท-นำไปบริจาคให้กับเด็กพิการซ้ำซ้อน(บ้านเฟื่องฟ้า) 4,500 บาท-ซื้อสิ่งของเพื่อนำไปบริจาค จำนวน 10,000 บาท
นำเข้ากองทุน KM Fun...D Learning 5,902 บาท

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ศึกษาดูงาน ณ ปักกิ่ง

พระราชวังกู้กง
พระราชวังต้องห้าม สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เป็นทั้งบ้านและชีวิตของจักรพรรดิในราชวงศ์หมิงและชิงรวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ พระราชวังเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 500 ปี มีชื่อในภาษาจีนว่า ‘กู้กง’ หมายถึงพระราชวังเดิม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘จื่อจิ้นเฉิง’ ซึ่งแปลว่า ‘พระราชวังต้องห้าม’ เหตุที่เรียกพระราชวังต้องห้าม เนื่องมาจากชาวจีนถือคติในการสร้างวังว่า จักรพรรดิเปรียบเสมือนบุตรแห่งสวรรค์ ดังนั้นวังของบุตรแห่งสวรรค์จึงต้องเป็น ‘ที่ต้องห้าม’ คนธรรมดาสามัญไม่สามารถล่วงล้ำเข้าไปได้ พระราชวังต้องห้ามสร้างโดยยึดหลักขนบธรรมเนียมของระบบศักดินา คือ อำนาจสูงสุดของประเทศอยู่ที่จักรพรรดิเพียงพระองค์เดียว ดังนั้นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและการตกแต่งจึงเน้นความใหญ่โตโอ่อ่า เพื่อให้เกิดความรู้สึกน่าเกรงขาม มากกว่าเน้นในด้านประโยชน์ใช้สอย ทั้งนี้ภายในประกอบด้วยห้องต่างๆรวมถึง 9,999 ห้อง

ตามหลักสถาปัตยกรรมสมัยโบราณ ได้กำหนดให้ด้านหน้าเป็นที่ว่าราชการ ด้านหลังเป็นที่อยู่อาศัย ตำหนักหน้า 3 หลังได้แก่ ตำหนักไท่เหอ ตำหนักจงเหอ และตำหนักเป่าเหอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจที่ยิ่งใหญ่นั้น จึงตั้งตระหง่านเรียงกันตามลำดับ ณ กึ่งกลางอาณาบริเวณส่วนหน้าของพระราชวัง ถัดเข้าไปส่วนด้านหลังเป็นตำหนักที่ประทับของจักรพรรดิและมเหสีอีก 3 หลัง ได้แก่ ตำหนักเฉียนชิง ตำหนักเจียวไท่และตำหนักคุนหนิง ก่อนเข้าสู่ตำหนักในส่วนหน้าพระราชวัง จะต้องผ่านประตูสำคัญ ได้แก่ ประตูอู่ และประตูไท่เหอ ประตูอู่ เป็นประตูแรกสุดของพระราชวัง ได้ชื่อตามหลักจักรราศีของจีน เนื่องจากหันหน้าไปทางทิศใต้และยังตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระราชวังบริเวณด้านหน้าประตูอู่ใช้เป็นที่จัดพิธีเฉลิมฉลองและรับเชลยศึกจากสงคราม และยังใช้เป็นที่ลงโทษข้าราชบริพารที่กระทำผิดด้วย

ลานหน้าประตูแห่งนี้เคยมีข้าราชบริพารถูกโบยจนตายมาแล้ว เช่นกรณีหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสมัยของจักรพรรดิเจิ้งเต๋อแห่งราชวงศ์หมิง ที่ทรงรับสั่งให้เฆี่ยนข้าราชบริพารจำนวน 130 คน ในความผิดฐานขัดขวางการเสด็จฯไปคัดเลือกสาวงามทางใต้ ในครั้งนั้นมีคนถูกตีจนเสียชีวิตถึง 11 คน ประตูไท่เหอ อยู่ตรงกับประตูอู่ เป็นประตูทางเข้าหลักของตำหนักหน้า ซึ่งเป็นประตูที่ใหญ่โตโอฬารที่สุดในพระราชวังต้องห้ามมีเอกลักษณ์คือ ที่หน้าประตูประดับด้วยสิงโตซึ่งทำจากทองสำริด 2 ตัว ด้านขวาเป็นสิงโตตัวผู้ด้านซ้ายเป็นสิงโตตัวเมีย ลานด้านหน้าซึ่งอยู่ระหว่างประตูอู่และประตูไท่เหอเป็นลานที่กว้างที่สุดในพระราชวัง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 25,000 ตร.ม ในสมัยราชวงศ์หมิงใช้เป็นที่ว่าราชการแผ่นดินและที่เข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงตอนต้นจึงย้ายไปยังลานหน้าประตูเฉียนชิง

สามตำหนักหน้า : ไท่เหอ จงเหอ เป่าเหอ
ตำหนัก 3 หลังในเขตพระราชฐานชั้นนอก ซึ่งใช้เป็นที่ว่าราชการแผ่นดิน และที่ทรงงานของจักรพรรดิ มี ตำหนักไท่เหอ เป็นตำหนักเอกที่มีความพิเศษที่สุด ดังนั้นจึงมีรูปแบบการก่อสร้างและการตกแต่งที่เป็นสุดยอดของพระราชวังต้องห้ามรวมถึงตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่จุดกึ่งกลางของนครปักกิ่งพอดี ตำหนักที่สูงตระหง่านที่สุดในพระราชวังแห่งนี้โดดเด่นบนฐานหินอ่อนสีขาว 3 ชั้น ด้านหน้าตำหนักมีการจัดวางนาฬิกาแดดและเจียเลี่ยง ซึ่งเป็นเครื่องมือชั่งตวงวัดชนิดหนึ่งซึ่งจักรพรรดิเฉียนหลงทรงให้ทำเลียนแบบเจียเลี่ยงในสมัยถัง(ค.ศ.618-907) ตำหนักแห่งนี้ใช้เป็นที่จัดพิธีสำคัญของราชสำนักตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงและชิง เช่น พิธีครบรอบพระชันษา พิธีฉลองขึ้นปีใหม่ เป็นต้น
ถัดจากตำหนักไท่เหอ คือ ตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักที่จักรพรรดิทรงประทับก่อนที่จะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีต่างๆที่ตำหนักไท่เหอ และเป็นที่ทรงงานราชการ ตลอดจนเป็นที่ให้ขุนนางเข้าเฝ้าฯ ตำหนักเป่าเหอ ตำหนักเป่าเหอมีความสำคัญลำดับรองจากตำหนักไท่เหอ มีหลังคาซ้อนสองชั้นเช่นเดียวกับตำหนักไท่เหอ ภายในใช้เทคนิคในการก่อสร้างที่พยายามลดการใช้เสา ทำให้ภายในตำหนักมีความโปร่งโล่ง จักรพรรดิจะทรงเปลี่ยนเครื่องทรงที่ตำหนักหลังนี้ก่อนจะเสด็จในการพระราชพิธีต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่จัดงานเลี้ยงต้อนรับบรรดาขุนนางที่มีตำแหน่งสูงสมัยราชวงศ์ชิงตำหนักเป่าเหอยังใช้เป็นสนามสอบคัดเลือกขุนนางระดับสูงอีกด้วย สามตำหนักหลัง : เฉียนชิง เจียวไท่ คุนหนิง ส่วนที่แบ่งระหว่างเขตพระราชฐานชั้นนอกและพระราชฐานชั้นในก็คือ ลานกว้างที่อยู่บริเวณด้านหลังตำหนักเป่าเหอที่มาบรรจบกับประตูเฉียนชิง ประตูเฉียนชิง เป็นประตูหลักของพระราชฐานชั้นใน สร้างในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เป็นประตูที่มีหลังคาชั้นเดียวปูด้วยกระเบื้องสีเหลืองมันวาวเป็นประกาย ตั้งอยู่บนฐานหิน ที่ด้านหน้าซ้ายขวาของประตูเฉียนชิง มีโอ่งทองสำริด 10 ใบวางเรียงรายอยู่ โอ่งเหล่านี้ใช้สำหรับการประดับตกแต่ง ขณะเดียวกันก็เป็นที่เก็บน้ำไว้ใช้ดับไฟหากเกิดอัคคีภัย ที่ถูกเรียกว่า‘ทะเลของประตู’หรือแหล่ง (โอ่ง) น้ำสำคัญหน้าประตูนี้ ในอดีตทหารชั้นผู้น้อยในพระราชวังมีหน้าที่คอยตักน้ำใส่โอ่งให้เต็มทุกใบ เพื่อเตรียมพร้อมในกรณีที่เกิดไฟใหม้ ภายในพระราชวังต้องห้ามมีโอ่งทองสำริดและโอ่งเหล็กทั้งสิ้น 308 ใบ โอ่งแต่ละใบมีน้ำหนักกว่า 2,000 กิโลกรัม

เขตพระราชฐานชั้นในเป็นที่ประทับพักผ่อนของจักรพรรดิ พระมเหสี พระราชมารดา พระราชโอรส พระราชธิดาและนางสนม ประกอบด้วยตำหนักหลัก 3 หลัง คือ ตำหนักเฉียนชิง ตำหนักเจียวไท่ และตำหนักคุนหนิง นอกจากนี้ด้านข้างของตำหนักทั้ง 3 ยังเรียงรายด้วยตำหนักเล็กๆอีกด้านละ 6 หลัง เมื่อเทียบกับพระราชฐานชั้นนอกแล้ว พระราชฐานชั้นในมีลักษณะที่ค่อนข้างมิดชิดซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของตำหนักสำหรับการพักผ่อน นอกจากนี้ยังมีอุทยานและศาลาซึ่งได้รับการออกแบบจัดวางอย่างประณีตบรรจง ตำหนักเฉียนชิงและตำหนักคุนหนิง ต่างตั้งชื่อตามตำหนักในพระราชวังที่เมืองหนันจิง อดีตราชธานีในสมัยราชวงศ์หมิง ในวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน‘เฉียน’ หมายถึง สวรรค์ และ‘คุน’ หมายถึง แผ่นดิน ดังนั้นจึงมีนัยว่า ตำหนักเฉียนชิงเป็นตำหนักบรรทมของจักรพรรดิ และตำหนักคุนหนิงเป็นตำหนักบรรทมของพระมเหสี ตำหนักเฉียนชิง เป็นที่ประทับของจักรพรรดิและปฏิบัติพระราชกรณีกิจส่วนพระองค์ มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง ต่อมาสมัยจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง ได้ทรงย้ายไปประทับที่ตำหนักหยังซิน ตำหนักเฉียนชิงจึงมีบทบาทในฐานะที่เป็นตำหนักสำหรับว่าราชการและเป็นที่จัดเลี้ยงแทน เหนือตำหนักเฉียนชิงขึ้นไปเป็นตำหนักเจียวไท่ สร้างในสมัยหมิง มีลักษณะเป็นทรงเหลี่ยม เนื้อที่ไม่ใหญ่มากนัก ใช้เป็นสถานที่เข้าเฝ้าพระมเหสี ในการถวายพระพรในพิธีการต่างๆ ทั้งยังเป็นที่เก็บรักษาตราลัญจกรซึ่งใช้ประทับลงหนังสือราชการของจักรพรรดิ ส่วนตำหนักคุนหนิง เป็นที่ประทับพักผ่อนของพระมเหสีในสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงได้ใช้เป็นที่บูชาเทพเจ้า


ด้านเหนือของตำหนักคุนหนิง เป็นที่ตั้งของอุทยานหลวง สร้างในรัชสมัยหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง ในเวลานั้นเรียกเพียง ‘สวนหลังวัง’ เป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความมีชีวิตชีวาตามแบบฉบับสวนสามัญชน แต่กว้างขวางโอ่อ่าตามแบบฉบับอุทยานในราชสำนัก มีความยาว 130 กว่าเมตร กว้าง 90 เมตร ภายในสวนประกอบด้วยหอน้อยใหญ่กว่า 20 หอ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่จัดตั้งหันหน้าเข้าหากันเป็นแนว ตำหนักที่สำคัญมากอีกตำหนักหนึ่งของพระราชวังต้องห้าม เพราะเป็นห้องบรรทมของจักรพรรดิหย่งเจิ้งและจักรพรรดิองค์ต่อๆมาในราชวงศ์ชิง ตั้งอยู่เป็นเอกเทศจากตำหนักอื่นๆ ทางด้านใต้ของทางเดินด้านตะวันตกภายในพระราชวัง นั่นคือ ตำหนักหยังซิน

ตำหนักหยังซิน สร้างขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิเจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1522-1566) มีลักษณะเป็นรูปตัวไอ(I) โดยส่วนหน้ากับส่วนหลังเชื่อมถึงกัน ส่วนหน้าเป็นที่ทรงงาน ส่วนหลังเป็นที่บรรทม มีระเบียงล้อมรอบในปีที่จักรพรรดิคังซีแห่งราชวงศ์ชิงเสด็จสวรรคต พระบรมศพของพระองค์ได้ถูกตั้งไว้ที่ตำหนักหยังซิน จักรพรรดิองค์ต่อมาคือ จักรพรรดิหย่งเจิ้งพระราชโอรสได้ทรงไว้ทุกข์ให้พระราชบิดาที่นี่ หลังเสร็จสิ้นการไว้ทุกข์ ตำหนักแห่งนี้ก็กลายเป็นห้องบรรทมและห้องทรงงานของพระองค์ในเวลาต่อมา อีกประการหนึ่ง ที่ตั้งของตำหนักหยังซินนั้นใกล้กับกองกำลังทหารมาก จึงเป็นการสะดวกหากพระองค์ต้องการปรึกษาข้อราชการกับเหล่าแม่ทัพนายกอง ตำหนักแห่งนี้ยังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ ในรัชสมัยจักรพรรดิถงจื้อและจักรพรรดิกวงสู่แห่งราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาและพระนางฉืออันโปรดให้เหล่าขุนนางเข้าเฝ้าและกราบทูลข้อราชการต่อพระนาง โดยมีม่านสีเหลืองเป็นฉากกั้นระหว่างกลางดังที่มีคำเรียกขานกันว่า 'ว่าราชการหลังม่าน' ที่พระที่นั่งใน

ตำหนักหยังซินด้วย นอกจากนี้ เมื่อปีค.ศ. 1842 และปี 1860 ราชสำนักชิงกับกองทัพต่างชาติได้มาลง นา มใน ‘สนธิสัญญานานกิง ’และ ‘สนธิสัญญาปักกิ่ง’ ณ ตำหนักแห่งนี้เช่นกัน
หลังจากผ่านกระแสธารแห่งประวัติศาสตร์มาหลายยุคหลายสมัย วันนี้พระราชวังต้องห้ามยังคงเด่นเป็นสง่าใจกลางนครปักกิ่ง และเป็นตัวแทนเล่าขานเหตุการณ์ในอดีตในฐานะพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ งดงามและสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
ข้อมูล มรดกโลกทางวัฒนธรรม ปีค.ศ.1987 ที่ตั้ง : ถนนฉางอัน ใจกลางกรุงปักกิ่ง สร้างในปี :ค.ศ.1406 -1420 อาณาเขต : เนื้อที่ทั้งสิ้น 720,000 ตารางเมตร

ข้อมูลท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ พระราชวังต้องห้าม (故宫) ตั้งอยู่ที่ถนนฉางอัน ใจกลางกรุงปักกิ่ง สามารถเดินทางโดยรถไฟใต้ดิน ลงที่สถานีจัตุรัสเทียนอันเหมินตะวันตกหรือตะวันออกก็ได้ หรือโดยสารรถประจำทางสาย 1, 4, 5, 10, 52, 57 ลงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน หรือรถไฟฟ้าสาย 101, 103, 109 หรือรถประจำทางปรับอากาศสาย 810, 812, 814, 846 - ราคาบัตรเข้าชม 40-60 หยวน (ตามฤดูท่องเที่ยว) มีบริการให้เช่าเทปบรรยายสถานที่จุดต่างๆในวัง และไกด์นำเที่ยว 3 ภาษา : อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น หากต้องการเข้าชมพิพิธภัณฑ์สมบัติล้ำค่าและนาฬิกาโบราณ ซื้อตั๋วเข้าชมราคา 20 หยวนเพิ่ม ด้านในพิพิธภัณฑ์ฯ
- เวลาทำการ 16 ตุลาคม – 15 เมษายน เวลา 8 : 30 – 16 : 30 น. (15 : 30 น. ปิดจำหน่ายบัตร) 16 เมษายน – 15 ตุลาคม เวลา 8 :30 -17 : 00 น. (16 : 00 น.ปิดจำหน่ายบัตร)

งานวิจัยภาษาไทย

ความต้องการการพัฒนาความรู้จากการใช้งานในระบบ Intranet ของพนักงาน บริษัท ผลิตภัณฑ์และ
วัตถุก่อสร้าง จำกัด

สุภาภรณ์ น้ำเลี้ยงขัน
หลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขา บริหารการศึกษา
พ.ศ.2548


•ในยุคสังคมปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ ทางด้านสารสนเทศได้มีพัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ สามารถใช้เทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้เพื่อที่จะรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเรา หรืออย่างน้อยที่สุดก็เพื่อให้เราเป็นคนที่มีความรู้ทันเหตุการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจทุกประเภท มีผู้กล่าวว่าผู้ที่มีข้อมูลที่ดีกว่า จะเป็นผู้ได้เปรียบในการแข่งขันและจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน

วัตถุประสงค์การวิจัย
•เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาความรู้จากการใช้งานในระบบอินเตอร์เน็ต (Intranet) ของพนักงาน บริษัท ผลิตภัณฑ์และ
วัตถุก่อสร้าง จำกัด
•เพื่อเปรียบเทียนความต้องการการพัฒนาความรู้จากการใช้งานในระบบอินทราเน็ต (Intranet) จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด

ทฤษฎีและกรอบแนวคิดการวิจัย
•แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารองค์กรสมัยใหม่
•แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้
•แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้
•บทบาทและความสำคัญของการสื่อสารในองค์กร
•บทบาทความสำคัญและอิทธิพลของเทคโนโลยี
•แนวคิดเกี่ยวกับระบบIntranet
•นโยบายการพัฒนาระบบ Intranetของบริษัทฯ
•แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองของพนักงาน

กรอบแนวคิดการวิจัย
จากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยจึงกำหนดกรอบแนวคิดดังนี้

ตัวแปรต้น
คุณลักษณะส่วนบุคคลของพนักงาน
- เพศ
- อายุ
- ระดับการศึกษา
- สาขาที่จบ
- สังกัดหน่วยงาน
- อายุงาน
- ระดับพนักงาน

ตัวแปรตาม
ความต้องการพัฒนาความรู้ในการใช้งานระบบ Intranet ของพนักงาน
1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ ภายในองค์กร
2. ความรู้ในการใช้งานเกี่ยวกับโปรแกรม สำเร็จรูปชนิดต่างๆ
3. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานระบบปฏิบัติการต่างๆ

วิธีการวิจัยและสถิติที่ใช้
ทางผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงาน บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัดซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานต่างๆดังนี้
-สำนักงานกรรมการผู้จัดการ จำนวน 10 คน
-กิจการภาคนครหลวง จำนวน 30 คน
-กิจการวัตถุดิบ จำนวน 61 คน
-ฝ่ายบริหาร จำนวน 29 คน
-ฝ่ายวิศวกรรมและเทคนิค จำนวน 132 คน
-ส่วนการบุคคล จำนวน 16 คน
-ส่วนวางแผนและพัฒนาธุรกิจ จำนวน 19 คน

2.กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจครั้งนี้คือ พนักงานภายในบริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ที่ทำงานอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ จำนวน170คนซึ่งได้จากการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของยามาเน(YamANA) ที่ระดับนัยสำคัญ.05กำหนดค่าความคลาดเคลื่อน(e)ร้อยละ5และคำนวณหากลุ่มตัวอย่างแต่ละประเภทหน่วยงานตามที่กำหนด โดยวิธีสุ่มแบบง่าย(simple random samplimg)ด้วยการจับฉลาก

2.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2.1การสร้างเครื่องมือวิจัย
1.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามโดยการศึกษาเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำระบบ Intranet ของบริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้างจำกัด เช่นแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารองค์การสมัยใหม่ องค์การแห่งการเรียนรู้ความสำคัญของการสื่อสารในองค์การ พฤติกรรมการเรียนรู้ ความสำคัญและอิทธิพลของเทคโนโลยี แนวคิดเกี่ยวกับระบบintranet และนโยบายในการพัฒนาระบบintranetของบริษัทรวมที้มงานวิจัยที่เกี่ยวกับ intranetรวมไปถึงเนื้อหาที่สอดคล้องกับการวิจัยครั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิด
2.นิยามศัพท์ตัวแปรเพื่อสร้างแบบสอบถาม
3.สร้างแบบสอบถามแล้วนำแบบสอบถามเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
4.ปรับแก้แบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา
5.นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนจากผู้เชี่ยวชาญมาปรับแก้ แล้วนำ แบบสอบถามไปทดลองใช้
6.จัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามฉบับสมบรูณ์ เพื่อนำไปใช้เก็บข้อมูล

ผลการวิจัย

สรุปผลการวิจัย

ด้านสถานภาพของพนักงาน
พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 134 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.8
มีช่วงอายุระหว่าง 26-30 ปี จำนวน 63 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.1
ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 92 ราย คิดเป็นร้อยละ54.1 และจบสาขาบริหาร/จัดการมากที่สุดจำนวน 42 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.7 และสังกัดฝ่ายวิศวกรรมจำนวน78 ราย คิดเป็นร้อยละ54.9มีอายุงานระหว่าง11-15ปี มากที่สุด จำนวน 82 ราย คิดเป็นร้อยละ48.2 และพนักงานระดับบังคับบัญชา จำนวน 87ราย คิดเป็นร้อยละ 51.2

ความต้องการการพัฒนาความรู้ในการใช้งานระบบ Intranetของพนักงาน บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด ในด้านต่างๆ
พนักงานบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด มีความต้องการการพัฒนาความรู้ในการใช้งานระบบ Intranet โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า พนักงานมีความต้องการการพัฒนาความรู้ในการใช้งานระบบ Intranet ในด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภายในองค์กรเป็นอันดับ 1รองลงมาคือ ด้านความรู้เกี่ยวกับการใช้งานระบบปฏิบัติการต่างๆ และความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปชนิดต่างๆตามลำดับ พนักงาน บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด มีความต้องการการพัฒนาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภายในองค์กร โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาในแต่ละประเด็น พบว่า เรื่องที่มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับ 1คือ ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานในwepของหน่วยงานอื่น รองลงมา คือความรู้เกี่ยวกับการใช้ระบบ intranetและเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน Windowsเช่น Desktop
-พนักงานบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด มีความต้องการการพัฒนาความรู้ในการใช้งานเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปชนิดต่างๆโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละประเด็น พบว่า เรื่องที่มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับ 1คือ ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม oracle browser รองลงมาคือความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมMicrosoft Accessและเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมตัดต่อvdo, สื่อสิ่งพิมพ์

- พนักงานบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด มีความต้องการการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการใช้งานระบบปฏิบัติการต่างๆโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละประเด็น พบว่า เรื่องที่มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับ 1คือ ความรู้เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการE-Learning รองลงมาคือ E-Marketingความรู้เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ และเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความรู้เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการLinux



งานวิจัยภาษาอังกฤษ

The uniqueness of knowledge management in small companies

By
Ernesto Villalba 2006

Reason for select this research
-This Research is about competency Development
that is very important for working.
-Also this research give some idea about KM for
life long learning that is very important for learning
organization.

Objective of the research


1. Explore through analysis and comparison the knowledge-
Enabling environment in selected companies in education and
Consultancy.
2. Explore through analysis and comparison the companies’
Perceived needs for continuous competence development,
Which constitute the companies’ demand for training in selected
Companies in education and consultancy.
3. Explore and analyze the relationship between the knowledge-
Enabling environment and the demand for training in selected
Small knowledge intensive companies in education and
consultancy

Theory
-Understanding Knowledge From A Knowledge Management
-Knowledge, Action and Learning
-Lifelong Learning
-Different Disciplines Contributing to The Field of Knowledge
Management
-Integrated Models of Knowledge Management
-The Knowledge Enabling Environment
-The Learning Arenas

Conceptual Framework
Independent variable
Age
Gender
Country
Time Living in Sweden
Position
Year in Company

dependent variable
-Collaborative Climate
-Supervisor’s Role
-Informal learning Activities
-Association
-Communication and literacy
Practices
-Meeting

Research Methodology

-Document Analysis
-Semi Structured Interview
-Questionnaire

Statistic
-Mean
-Frequencies
-Pearson correlations

Conclusions
1. The knowledge-enabling environment

The relationships between the construct indicators of size, stability of the
workforce, experience, and tacit orientation of the recruitment process can be
explained by the service the company provides: consultancy or education.
however, other relationship do not appear to be associated with the company
activity and thus further exploration might be worthwhile. For example, the data
shows that higher stability among employees is associated with lower
communication intensiveness. This can be related to the idea of creative chaos
defended by Nonaka and Takeuchi (1995). They suggest that less stability
generates more communication among employees which in turn can create
more innovation and insights. Also interesting to note is that the study indicated
That companies with higher professionalism have less communication among
employees which is in line with the characterization of professional workers
presented by Sveiby (1997). It was also found that having cross-functional teams
And a mentor system is associated with having a higher level of communication
In a company which is in line with Nonaka and Takeuchi’s characterization of a
Knowledge creating company (see Nonaka, 1991, Nonaka and Takeuchi, 1995).
The seven constructs for a knowledge-enabling environment have a similar
Distribution in both sectors, or in other words, consultancy and education
Generally have similar knowledge-enabling environments.

2. The learning arenas

The relationship between the knowledge-enabling constructs and the
Knowledge-creation (or learning arenas) indicators is weak. This could in part
Be due to the differences between the consultancy and education sectors.
However, generally, in both sectors the working-environment characteristics
That theoretically promote learning, that is the knowledge-enabling environment
, do not necessarily promote a higher demand for learning. This is contrary to
The primary assumption of this dissertation that the existence of knowledge-
Enabling characteristics will be related to a higher demand for training. On the
Other hand, it also seems that companies that have more stability and more
Experience in their workforce invest more in training. This is in line with previous
Findings on the demand and supply for learning. Also in line with previous
Studies on the demand for learning is that higher IT investment seems to be
Associated with higher levels of training demand and investment in knowledge
Creation activities.

3. The use of knowledge
The result seem to indicate that knowledge-intensive companies
Manage their knowledge in different, unique ways and that there are no strong
Relationship among the different aspects explored. In other words, companies
Differ in their knowledge –enabling environments, which complicate any
Determination as to what extent knowledge –enabling environments affect
The demand for training and knowledge creation. With regard to the sectors,
Education and consultancy, they are relatively similar in their knowledge-
Enabling environments but differ considerably in their knowledge creation
Activities.